กิจกรรม 12 พฤศจิกายน 2553



สืบค้นข้อมูล

ส่วนรอยเลื่อน ที่น่าจับมอง คือรอยเลื่อนสะแกง หรือสะเกียงในประเทศพม่า เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนแขนงของลอยเลื่อนสะแกง เพราะมีเขื่อนศรีนครินทร์ตั้งอยู่ โดยในปี 2526 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 60 กม.แต่ไม่ได้ส่งผลเสีย และสร้างความเสียหายกับเขื่อน ดังนั้น ควรต้องมีแผนป้องกันภัย แผนเตือนภัย แผนอพยพ และแผนจัดการ เมื่อเกิดภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังรวมถึงรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทยด้วย ส่วนรอยเลื่อนขนาดใหญ่นอกประเทศนอกจากรอยเลื่อนสะแกงแล้ว ยังมีรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ถือว่าประเทศไทยโชคดีที่บรรพบุรุษเลือกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดแผ่นดิน ไหวค่อนข้างต่ำ
สำหรับรอย เลื่อนในประเทศไทยที่มีพลังอยู่มี 13 กลุ่ม ประกอบด้วย รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง ครอบคลุมจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุมแม่ฮ่องสอน และตาก รอยเลื่อนเมย ครอบคลุมตากและกำแพงเพชร รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม เชียงใหม่, ลำพูน และเชียงราย รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุมลำปาง และแพร่ รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุมลำปาง, เชียงรายและพะเยา รอยเลื่อนปัว ครอบคลุมน่าน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุมอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและราชบุรี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและอุทัยธานี รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุมหนองคายและนครพนม รอยเลื่อนระนอง ครอบคลุมประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ระนอง, และพังงา รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุมสุราษฎร์ธานี, กระบี่ และพังงา

 ตอบข้อ 2.
สืบค้นข้อมูล

รอยต่อของแผ่นธรณี          เมื่อนำแผ่นภาพแต่ละทวีปมาต่อกัน จะเห็นว่ามีส่วนที่ต่อกันได้พอดี เช่น ขอบตะวันออกของอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตกของทวีปแอฟริกาใต้ได้อย่างพอดี ซึ่งเป็นเหตุผลที่สามารถตั้งเป็นสมมติฐานได้ว่า ทวีปทั้งสองอาจเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันมาก่อน แล้วต่อมาก็แยกออกจากกันโดยเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกส่วนหนึ่ง และทิศตะวันตกอีกส่วนหนึ่ง จนกลายเป็นมหาสมุทรแอตแลนติกเข้ามาแทนที่ตรงรอยแยก และแผ่นทวีป ก็มีการเคลื่อนตัวแยกไปเรื่อย ๆ จนปรากฏเป็นตำแหน่ง และรูปร่างของทวีปทั้งสองดังปัจจุบัน
ตอบข้อ 1.
สืบค้นข้อมูล
ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ข้อมูลทางธรณีวิทยารายงานว่า สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศ ส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน พม่า ลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา โดยบริเวณที่จะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้แก่ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ

โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทย ได้แก่

1. บริเวณอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือและตะวันตก

2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก

3. บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา บริเวณที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะแถบจังหวัดนนทบุรี อยุธยา ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เนื่องจากชั้นดินมีความอ่อนตัวมากกว่าแถบอื่น
ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=38442

ตอบข้อ 1.
สืบค้นข้อมูล
ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,323 เมตร วัดฐานโดยรอบได้ 150 เมตร บนยอดมีหิมะปกคลุมปีละเก้าเดือน
ตอบข้อ 2.

ตอบ. ข้อ1  ดาวฤกษ์ทุกดวงมีขนาดใกล้เคียงกัน

พบว่าดาวฤกษ์จะไม่อยู่เดี่ยวๆ แต่จะอยู่กันเป็นหมู่ๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าดาวฤกษ์เหล่านั้นก่อเกิดมาจากมวลของสสารระหว่างดวงดาวกลุ่มเดียวกันที่เกิดจากการควบแน่นเป็นแท่งๆ ทำให้ขาดออกจากกันเป็นลูกๆ และในที่สุดก็เป็นดาวฤกษ์หลายดวงขึ้นมา ดาวฤกษ์ทุกดวงในหมู่เดียวกันจะมีอายุใกล้เคียงกันมากจนเกือบจะเท่ากันและโคจรไปในห้วงอวกาศด้วยความเร็วที่เท่ากัน หมู่ดาวฤกษ์มี 2 ประเภท ประเภทหนึ่งเป็นหมู่ดาวฤกษ์ที่ก่อเกิดมาจากการรวมหมู่ดาวฤกษ์น้อยใหญ่เข้าด้วยกันแต่ดาวฤกษ์เหล่านั้นยังอยู่กันห่างๆ พวกนี้เรียกว่า หมู่ดาวเปิด ส่วนอีกประเภทหนึ่งก่อเกิดมาจากการรวมหมู่ดาวฤกษ์น้อยใหญ่นับพันๆ ดวงเข้าด้วยกัน แต่ดาวเหล่นนั้นอยู่ชิดกันมากจนเกิดเป็นหมู่ดาวรูปทรงกลมขึ้น พวกนี้เรียกว่า หมู่ดาวทรงกลม
แม้ว่าในทางทฤษฎี  ดาวฤกษ์ต่าง ๆ  ก็ล้วนแต่เหมือน    กันทั้งนั้น   แต่สิ่งที่ทำให้มันดูต่างกันก็คืออายุ  ขนาด  และวิวัฒนาการ  ดังนั้น  จึงสามารถจัดเป็นประเภท ๆ  ได้ตามที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นจะสามารถสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ต่าง ๆ  เหล่านั้นได้ด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก  ประเภทของดาวฤกษ์ที่สำคัญ  ได้แก่   ดับเบิลสตาร์   แวริเบิลสตาร์  โนวา  ซูเปอร์โนวา  พัลซาร์  และ  ควาซาร์



ตอบ ข้อ.2  มีมวลประมาณ 50 % ของมวลระบบสุริยะ

ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,570 ล้านปี ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุกๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก
เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่งได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธาน
ไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิต

หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลาง

ตอบ ข้อ.2  ขึ้น 15 ค่ำ

สุริยุปราคาวงแหวน  วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พศ. 2553
      ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เป็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน
 เนื่องจากขนาดกว้างเชิงมุมของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ต่างกันเล็กน้อย โลกพึ่งจะผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 2 มค. ทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดความกว้างเชิงมุมใหญ่ขึ้นเป็น 33 arcmin และประกอบกับวันที่ 16 มค.ดวงจันทร์จะมาอยู่ในตำแหน่งไกลจากโลกที่สุดทำให้ขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์เล็กลงเหลือ 30 arcmin ทำให้เกิดการบังกันไม่หมด เหลือขอบนอกของดวงอาทิตย์เป็นลักษณะวงแหวน
      ปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนในครั้งนี้เริ่มต้นทางตอนกลางของทวีปอาฟริกา ผ่านเข้ามหาสมุทรอินเดีย  ผ่านตอนใต้ของประเทศอินเดีย เข้าพม่าและไปสิ้นสุดที่ประเทศจีน โดยมีจุดศูนย์กลางการเกิดสุริยุปราคาวงแหวนอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากชายฝั่งประเทศอินเดียราว 1,200 กิโลเมตร เกิดแนวมืดกว้างราว 333 กิโลเมตร พาดยาว 12,900 กิโลเมตรเกือบครึ่งโลก เริ่มตั้งแต่เวลา 05.14
UT สิ้นสุดที่เวลา 08.59UT กินเวลานานทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 45 นาที โดยอยู่ในช่วงเป็นวงแหวนอยู่นาน 11 นาที 7.9 วินาที  ซึ่งสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 23 ของการหวนกลับมาของอุปราคา หรือที่เรียกว่า ซารอส(Saros) ลำดับที่ 141


1 ความคิดเห็น: