วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 14-18 กุมภาพันธุ์ 2554







                           
รวมคะแนนของข้าพเจ้าทั้งหมดได้  1401 คะแนน

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


กิจกรรม 4 ก.พ. 2554


ตอบข้อ 4.25 s
อธิบาย
S = Vt นี่คือสูตรตายตัวแล้วคับ
S คือระยะทาง
V คืออัตราเร็ว
t คือ เวลา
ที่มา
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=70693e966352dfbc

ตอบข้อ 1.
อธิบาย
สนามไฟฟ้า (electric field) หมายถึง "บริเวณโดยรอบประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้า สามารถส่งอำนาจไปถึง" หรือ "บริเวณที่เมื่อนำประจุไฟฟ้าเข้าไปวางแล้วจะเกิดแรง กระทำบนประจุไฟฟ้านั้น" ตามจุดต่างๆ ในบริเวณสนามไฟฟ้า ย่อมมีความเข้มของ สนามไฟฟ้าต่างกัน จุดที่อยู่ใกล้ประจุไฟฟ้า จะมีความเข้มของสนามไฟฟ้าสูงกว่าจุดที่อยู่ ห่างไกลออกไป นอกจากนั้น ณ จุดต่างๆ ในบริเวณสนามไฟฟ้าย่อมจะปรากฏศักย์ไฟฟ้า มีค่าต่างๆ กันด้วย ซึ่งเป็นศักย์ไฟฟ้า ชนิดเดียวกันกับศักย์ไฟฟ้าอัน เกิดจากประจุไฟฟ้า ที่เป็นเจ้าของสนามไฟฟ้า จุดที่อยู่ใกล้ประจุไฟฟ้าจะมีศักย์สูงกว่าจุดที่อยู่ไกลออกไป
นิยามสนามไฟฟ้า เป็นแรงต่อประจุ 1 coul.
สนาม E = แรง (F) / ประจุ (Q)
E = F / Q
F = QE
สรุป การหาความเข้มของสนามไฟฟ้า ณ จุดใด ๆ
เขียนรูป แสดงตำแหน่งประจุเข้าของสนาม
นำประจุ +1 คูลอมบ์ ไปวางไว้ ณ จุดที่จะหาความเข้มของสนามไฟฟ้า
เขียนทิศทางของแรงที่กระทำต่อประจุ +1 คูลอมบ์ ณ จุดนั้นด้วย
หาความเข้มของสนามไฟฟ้า จากสูตร
E = KQ / R2
ที่มา
http://www.mea.or.th/internet/understanding_emf_web/emf_thai/webpage_thai/page01_thai.htm



ตอบข้อ4. Aสนามฟ้าไฟฟ้าที่B
อธิบาย
สนามไฟฟ้า (electric field) คือปริมาณซึ่งใช้บรรยายการที่ประจุไฟฟ้าทำให้เกิดแรงกระทำกับอนุภาคมีประจุภายในบริเวณโดยรอบ หน่วยของสนามไฟฟ้าคือ นิวตันต่อคูลอมบ์ หรือโวลต์ต่อเมตร (มีค่าเท่ากัน) สนามไฟฟ้านั้นประกอบขึ้นจากโฟตอนและมีพลังงานไฟฟ้าเก็บอยู่ ซึ่งขนาดของความหนาแน่นของพลังงานขึ้นกับกำลังสองของความหนานแน่นของสนาม ในกรณีของไฟฟ้าสถิต สนามไฟฟ้าประกอบขึ้นจากการแลกเปลี่ยนโฟตอนเสมือนระหว่างอนุภาคมีประจุ ส่วนในกรณีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสนามแม่เหล็ก โดยมีการไหลของพลังงานจริง และประกอบขึ้นจากโฟตอนจริง
ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2

ตอบข้อ1.2.5Hz
อธิบาย
ความถี่ (อังกฤษ: frequency) คือปริมาณที่บ่งบอกจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง การวัดความถี่สามารถทำได้โดยกำหนดช่วงเวลาคงที่ค่าหนึ่ง นับจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นำจำนวนครั้งหารด้วยระยะเวลา และ คาบ เป็นส่วนกลับของความถี่ หมายถึงเวลาที่ใช้ไปในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ
ในระบบหน่วย SI หน่วยวัดความถี่คือเฮิรตซ์ (hertz) ซึ่งมาจากชื่อของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เหตุการณ์ที่มีความถี่หนึ่งเฮิรตซ์หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้งทุกหนึ่งวินาที หน่วยอื่นๆ ที่นิยมใช้กับความถี่ได้แก่: รอบต่อวินาที หรือ รอบต่อนาที (rpm) (revolutions per minute) อัตราการเต้นของหัวใจใช้หน่วยวัดเป็นจำนวนครั้งต่อนาที
อีกหนึ่งวิธีที่ใช้วัดความถี่ของเหตุการณ์คือ การวัดระยะเวลาระหว่างการเกิดขึ้นแต่ละครั้ง (คาบ) ของเหตุการณ์นั้นๆ และคำนวณความถี่จากส่วนกลับของคาบเวลา:
เมื่อ T คือคาบ
ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%88
ตอบข้อ2. ความยาวคลื่นในน้ำลึกมากกว่าคลื่นในน้ำตื้น
อธิบาย
คลื่น หมายถึง ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจาย เคลื่อนที่ออกไป ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ การแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง
ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave)
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%
 
 ตอบข้อ3. 3.5 m/s
อธิบาย

อัตราเร็ว
เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยทั่วไป อัตราเร็วของวัตถุจะไม่เท่ากันตลอดระยะทางที่เคลื่อนที่ จึงบอกเป็นอัตราเร็วเฉลี่ย ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่เคลื่อนที่ได้กับช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่
อัตราเร็วเฉลี่ย = ระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ / ช่วงเวลาที่ใช้
โดยมีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที หรือ m/s
อัตราเร็วเฉลี่ยที่หาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ จะเป็นอัตราเร็วขณะหนึ่ง (Instantaneous Speed) ซึ่งหมายถึงอัตราเร็ว ณ เวลานั้นหรือตำแหน่งนั้น โดยอัตราเร็วที่ใช้กันทั่วไปในชีวิตประจำวันก็เป็นอัตราเร็วขณะหนึ่ง เช่น อัตราเร็วที่อ่านได้จากมาตรวัดในรถยนต์ เป็นต้น
ความเร็ว
ความเร็วคือการกระจัดในหนึ่งหน่วยเวลา เนื่องจากการกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ความเร็วจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ และมีทิศไปทางเดียวกับทิศของการกระจัด ความเร็วมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที หรือ m/s เช่นเดียวกับหน่วยของอัตราเร็ว
ในบางกรณี การบอกความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่จะบอกเป็นความเร็วเฉลี่ย ซึ่งหาได้จาก
ความเร็วเฉลี่ย = การกระจัด / ช่วงเวลาที่ใช้
ที่มา
http://www.ipst.ac.th/sci_activity%20ver1.1/speed/content.html

ตอบข้อ2. 65 km
อธิบาย
การกระจัด หรือการขจัด ในทางฟิสิกส์ หมายถึงระยะห่างของการเคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายโดยจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง ซึ่งจะเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุดใด ๆ ในขณะที่เราเคลื่อนที่ เราจะเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ตลอดแนว เช่น ขณะเราขับรถยนต์ไปตามท้องถนน เราจะเคลื่อนที่ผ่านถนน ถนนอาจเป็นทางตรง ทางโค้ง หรือหักเป็นมุมฉาก ระยะทางที่รถเคลื่อนที่อาจเป็นระยะทางตามตัวเลขที่ราบของการเคลื่อนที่ แต่หากบางครั้งเราจะพบว่า จุดปลายทางที่เราเดินทางห่างจากจุดต้นทางในแนวเส้นตรง หรือในแนวสายตาไม่มากนัก

ระยะทาง (distance) คือ ความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด เป็นปริมาณสเกลาร์ คือ มีแต่ขนาดอย่างเดียว มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเราใช้สัญลักษณ์ S

การกระจัด (displacement) คือ เส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่เป็นปริมาณเวกเตอร์ คือ ต้องคำนึงถึงทิศทางด้วย มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเขียนแบบเว็กเตอร์เป็น S
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94

ตอบข้อ3. 08.30 น.อธิบาย
อัตราเร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t
อัตราเร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว
ในรูปสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ อัตราเร็วคือ
หน่วยของอัตราเร็ว ได้แก่
เมตรต่อวินาที, (สัญลักษณ์ m/s) , ระบบหน่วย SI
กิโลเมตรต่อชั่วโมง, (สัญลักษณ์ km/h)
ไมล์ต่อชั่วโมง, (สัญลักษณ์ mph)
นอต (ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง, สัญลักษณ์ kt)
มัค เมื่อมัค 1 เท่ากับ อัตราเร็วเสียง มัค n เท่ากับ n เท่าของอัตราเร็วเสียง
มัค 1 ≈ 343 m/s ≈ 1235 km/h ≈ 768 mi/h (ดู อัตราเร็วเสียง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม)
อัตราเร็วแสง ใน สุญญากาศ (สัญลักษณ์ c) เป็นหนึ่งใน หน่วยธรรมชาติ
c = 299,792,458 m/s
การเปลี่ยนหน่วยที่สำคัญ
1 m/s = 3.6 km/h
1 mph = 1.609 km/h
1 knot = 1.852 km/h = 0.514 m/s
ยานพาหนะต่าง ๆ มักมี speedometer สำหรับวัดอัตราเร็ว
วัตถุที่เคลื่อนที่ไปตามแนวราบ พร้อม ๆ กับแนวดิ่ง (เช่น อากาศยาน) จะแยกประเภทเป็น forward speed กับ climbing
อัตราเร็วในรูป สมบัติเชิงกายภาพ มักแทนอัตราเร็วที่ขณะใดขณะหนึ่ง ในชีวิตจริงเรามันใช้ อัตราเร็วเฉลี่ย (ใช้สัญลักษณ์ ) ซึ่งก็คือ อัตรา ของ ระยะทาง รวม (หรือ ความยาว) ต่อช่วง เวลา
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเคลื่อนที่ได้ 60 ไมล์ในเวลา 2 ชั่วโมง อัตราเร็ว เฉลี่ย ของคุณในช่วงเวลานั้นคือ 60/2 = 30 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่อัตราเร็วที่ขณะใดขณหนึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงต่างกันไป
ในรูปสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
อัตราเร็วที่ขณะใดขณะหนึ่งซึ่งนิยามเป็นฟังก์ชันของ เวลา ในช่วงเวลา [t0,t1] จะให้อัตราเร็วเฉลี่ยในรูป
ในขณะที่อัตราเร็วที่ขณะใดขณะหนึ่งซึ่งนิยามเป็นฟังก์ชันของ ระยะทาง (หรือ ความยาว) ในช่วงความยาว [l0,l1] จะให้อัตราเร็วเฉลี่ยในรูป
บ่อยครั้งที่มีคนคาดโดยสัญชาตญาณ แต่ผิด ว่าการเคลื่อนที่ครึ่งแรกของระยะทางด้วยอัตราเร็ว va และระยะทางครึ่งที่สองด้วยอัตราเร็ว vb จะให้อัตราเร็วเฉลี่ยรวมเป็น ค่าที่ถูกต้องต้องเป็น
(ระลึกไว้ว่า อย่างแรกเป็น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ในขณะที่อย่างที่สองเป็น ค่าเฉลี่ยฮาร์มอนิก)
อัตราเร็วเฉลี่ยสามารถหาได้จาก distribution function ของอัตราเร็วได้เช่นกัน (ทั้งในรูประยะทางหรือเวลาก็ตาม)
ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7
 ตอบข้อ3. A แล ะB มีประจุบวก แต่ Cเ ป็นประจุลบ
อธิบาย


ประจุไฟฟ้า เป็นคุณสมบัติพื้นฐานถาวรหนึ่งของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม (subatomic particle) เป็นคุณสมบัติที่กำหนดปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า สสารที่มีประจุไฟฟ้านั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็จะได้รับผลกระทบจากสนามด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างประจุ และ สนาม เป็นหนึ่งในสี่ ของแรงพื้นฐาน เรียกว่า แรงแม่เหล็กไฟฟ้าประจุไฟฟ้า เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม และมีค่าเป็นขั้นๆ ไม่ต่อเนื่อง สามารถระบุค่าในรูปของ ค่าประจุพื้นฐาน (elementary particle) e โดย อิเล็กตรอนมีค่าประจุ -1 โปรตอนมีค่าประจุ +1 ควาร์กมีค่าประจุเป็นเศษส่วน -1/3 หรือ 2/3 และอนุภาคต่อต้าน (antiparticle) ของอนุภาคดังกล่าวมีค่าประจุตรงกันข้าม นอกจากนั้นแล้วยังมีอนุภาคที่ประจุอื่นๆ อีก

ค่าประจุไฟฟ้าของวัตถุขนาดใหญ่ มีค่าเท่ากับผลรวมของประจุไฟฟ้าของอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบ โดยปกติแล้วค่าประจุของวัตถุมีค่ารวมเท่ากับศูนย์ เนื่องจากตามธรรมชาติแล้วอะตอมหนึ่งๆ มีจำนวนอิเล็กตรอน เท่ากับโปรตอน ค่าประจุจึงหักล้างกันไป ส่วนกรณีที่ค่าประจุรวมไม่เท่ากับศูนย์นั้นมักจะเรียกว่า ไฟฟ้าสถิตย์ แต่ในกรณีที่ผลรวมของค่าประจุเท่ากับศูนย์ แต่การกระจายตัวของประจุนั้นไม่สม่ำเสมอ จะเรียกวัตถุนั้นว่ามีขั้ว (polarized) หากประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง นั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

หน่วย SI ของประจุไฟฟ้ามีค่าเป็น คูลอมบ์ มีค่าประมาณ 6.24 x 1018 เท่าของค่าประจุพื้นฐาน ค่าคูลอมบ์นั้นกำหนดขึ้นโดยเท่ากับ ปริมาณของประจุทั้งหมดที่วิ่งผ่าน พื้นที่ตัดขวางของตัวนำ ที่มีกระแสไหลผ่าน 1 แอมแปร์ ในช่วงเวลา 1 วินาที นิยมใช้สัญญลักษณ์ Q ในการแทนประจุ

ค่าประจุไฟฟ้าสามารถวัดได้โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า อิเล็กโตรมิเตอร์ (electrometer) โรเบิร์ต มิลลิแคน (Robert Millikan) เป็นบุคคลแรกที่แสดงให้เห็นว่าค่าของประจุไฟฟ้านี้ มีค่าไม่ต่อเนื่องเป็นขั้นๆ โดยการทดลองด้วยหยดน้ำมัน

ค่าของประจุนั้นมีค่าเป็นขั้น โดยเป็นจำนวนเท่า หรือ ทวีคูณ ของค่าประจุพื้นฐาน e แต่เนื่องจากค่าประจุของวัตถุขนาดใหญ่นั้นคือค่าเฉลี่ยของประจุพื้นฐานจำนวนมหาศาล ดังนั้นจึงเสมือนเป็นค่าที่ต่อเนื่อง        


ตอบข้อ2.ความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
อธิบาย
การเคลื่อนที่แนวตรง เป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เปลี่ยนทิศของวัตถุ เช่น การเคลื่อนที่ของรถยนต์บนถนนตรง การเคลื่อนที่ของผลมะม่างที่ร่วงลงสู่พื้น การเคลื่อนที่แนวตรง แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ การเคลื่อนแนวตรงตามแนวราบ และกรเคลื่อนที่แนวตรงตามแนวดิ่ง

1. การเคลื่อนที่ในแนวระดับ
เมื่อต้องการแก้ปัญหาโจทย์คำนวณเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แนวตรง ตามแนวระดับ สามารถกระทำไ้ด้ดังนี้
1.1 เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ตามแนวระดับด้วยความเร็วคงที่ สามารถคำนวณได้ โดยใช้สมการ
S = vt เมื่อ S คือ ระยะทางในการเคลื่อนที่
v คือ ความเร็วของวัตถุ
t คือ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่
ตัวอย่าง
รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ 15 เมตรต่อวินาที เมื่อเสาไฟฟ้าอยู่ห่างกันต้นละ 50 เมตร รถยนต์คันนี้จะเคลื่อนที่ผ่านเสาไฟฟ้าจากต้นที่ 1 ถึงต้นที่ 10 ใช้เวลากี่วินาที
แนวคิด
S = ระยะทาง = 9 x 5o = 450 เมตร
v = อัตราเร็ว = 15 เมตรต่อวินาที
t = เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่
จากสมการ S = vt แทนค่าในสมการ จะได้
450 = 15 x t
t = 450 / 15
= 30 วินาที ตอบ
1.2 เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ตามแนวระดับด้วยความเร่งคงที่
เมื่อพิจารณาวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่ a และเคลื่อนที่ออกไปด้วยความเร็วต้น u ที่เวลา t=0 และมีความเร็วสุดท้าย v ที่เวลา t เราสามารถคำนวณเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แนวตรงตามแนวระดับด้วยความเร่งคงที่ โดยมีสมการหรือสูตรที่ใช้ในการคำนวน 4 สูตรดังนี้
1. v = u + at เมื่อ u = ความเร็วต้น
2. s = v = ความเร็วปลาย
3. s = ut + at a = ความเร่ง
4. v = u + 2as t = เวลา
s = การกระจัด
ข้อควรจำ
1. ทิศของ u เป็นบวกเสมอ ปริมาณใดที่มีทิศตรงข้ามกับ u จะมีเครื่องหมายเป็น ลบ
2. การกระจัดต้องวัดจากจุดเริ่มต้นและพิจารณาประกอบทิศของ u ด้วย
ตัวอย่าง
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่จากจุดหยุดนิ่ง ไปในแนวเส้นตรงด้วยความเร่งคงที่ ได้ระยะทาง 10 เมตร ในเวลา 1 วินาที จงหาว่าวัตถุมีความเร่งเท่าใด
แนวคิด วิเคราะห์โจทย์ว่า โจทย์ให้ปริมาณใดมาบ้าง
จากโจทย์ u = 0 เพราะจากจุดหยุดนิ่ง
s = 10
t = 1
a = ?
เลือกสูตรที่สุดคล้องกับปริมาณที่รู้ค่า และปริมาณที่ต้องการทราบ
จะได้สูตร s = ut + at
แทนค่าปริมาณที่ทราบค่า 10 = (0 x 1) + a(1)
10 = 0 + a1
แก้สมการ จะได้ a = 10 x 2
a = 20 m/s ตอบ
2.การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
2.1 กรณีวัตถุตกอย่างเสรี
เมื่อปล่อยให้วัตถุตกอย่างเสรี วัตถุจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือ วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว เรียกความเร่งเนื่องจากการตกของวัตถุว่า ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก (gravitational acceleration) ใช้สัญลักษณ์ g มีค่าเท่ากับ 9.80665 m/s เพื่อความสะดวกในการคำนวณมักใช้ค่าเป็น 9.8 m/s หรือ 10 m/s มีทิศดิ่งลงสู่พื้นเสมอ
2.2 กรณีที่วัตถุเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่ง
การเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีแนวการเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ความเร็วของวัตถุจะลดลงอย่างสม่ำเสมอ แสดงว่าเคลื่อนที่ขึ้นไปด้วยความเร่งที่มีทิศตรงข้ามกับความเร็ว
เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ก็คือ การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแบบหนึ่ง ดังนั้นสูตรที่ใช้ในการคำนวณ จึงเหมือนกับสูตรที่ใช้คำนวณในการเคลื่อนที่ตามแนวราบ เพียงแต่เปลี่ยนค่า a เป็น g เท่านี้เอง
1. v = u + gt เมื่อ u = ความเร็วต้น
2. s = v = ความเร็วปลาย
3. s = ut + gt g = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีค่า= 10 m/s
4. v = u + 2gs t = เวลา
s = การกระจัด
ข้อควรจำ
1. กำหนดให้ทิศของ u เป็น บวกเสมอ ปริมาณใดที่มีทิศตรงข้ามกับ u ให้เป็น ลบ
2. เครื่องหมายของ g
- วัตถุเคลื่อนที่ขึ้น ค่า g เป็นลบ
- วัตถุเคลื่อนที่ลง ค่า g เป็นบวก
3. ปล่อยวัตถุให้ตกลงมา แสดงว่า u=0 ถ้่าขว้างวัตถุ แสดงว่า u0
4. เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดสูงสุด แสดงว่า v=0
5. เมื่อปล่อยวัตถุบนวัตถุที่กำัลังเคลื่อนที่อยู่ เช่น ปล่อยก้อนหินอยู่บนรถ ขณะรถกำลังเคลื่อนที่ ก้อนหินจะมีความเร็วต้น เท่ากับความเร็วของรถ
6. เมื่อโยนวัตถุขึ้นไปตรง ๆ ในอากาศแล้วตกลงมา ถ้าจุดตกอยู่ต่ำกว่าระดับของจุดปล่อย ค่า s จะเป็นลบ
ตัวอย่างการคำนวณ
ปล่อยก้อนหินจากหน้าผา เมื่อเวลาผ่านไป 2 วินาที ก้อนหินจึงตกกระทบพื้น จงหาว่าหน้าผาสูงกี่เมตร
แนวคิด วิเคราะห์โจทย์ว่า โจทย์ให้ปริมาณใดมาบ้าง
จากโจทย์ u = 0 เพราะปล่อยจากจุดหยุดนิ่ง
s = ?
t = 2
g = 10
เลือกสูตรที่สุดคล้องกับปริมาณที่รู้ค่า และปริมาณที่ต้องการทราบ
จะได้สูตร s = ut + gt
แทนค่าปริมาณที่ทราบค่า s = (0 x 2) + x 10 x(2)
s = 0 + x 10 x 4
=
s = 20 m ตอบ

ที่มา
http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%A1%D2%C3%E0%A4%C5%D7%E8%CD%B9%B7%D5%E8%E1%BA%BA%A4%C5%D7%E8%B9
 ตอบข้อ1. 0.5 s
อธิบาย
ลองใช้สูตรคิดดู
๑. v = u + at ใช้เมื่อไม่สนใจ s

๒. s = ( v + u ) / 2t ใช้เมื่อไม่สนใจ a

๓. s = ut + 1/2 at2 ใช้เมื่อไม่สนใจ v

๔. v2 = u2 + 2as ใช้เมื่อไม่สนใจ t
ที่มา
http://inhumba.com/2007/09/18/initial-speed
ตอบข้อ3 มีค่าเท่ากับอัตราเร็วแนวราบเมื่อเริ่มเคลื่อนที่
อธิบาย
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ คือการเคลื่อนที่ในแนวโค้งพาราโบลา ซึ่งเกิดจากวัตถุได้รับความเร็วใน 2 แนวพร้อมกัน คือ ความเร็วในแนวราบและความเร็วในแนวดิ่ง ตัวอย่างของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ได้แก่ ดอกไม้ไฟ น้ำพุ การเคลื่อนที่ของลูกบอลที่ถูกเตะขึ้นจากพื้น การเคลื่อนที่ของนักกระโดดไกล สำหรับในบทเรียนนี้เราจะศึกษาในเรื่องลักษณะของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทด์ , โพรเจคไทด์ในแนวราบ , โพรเจกไทล์ในแนวดิ่ง หลังจากนั้นนักเรียนจะได้ทดสอบความเข้าใจกับแบบฝีกหัด และแบบทดสอบ
ที่มา









วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 20-24 ธ.ค.2553


ตอบ ข้อ2. ธรณีภาค
“แผ่นดินไหว” เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลย์ของเปลือกโลกให้คงที่ สาเหตุ ของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด ชนิดที่หนึ่ง เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น ชนิดที่สองเป็นแผ่นดินไหวจากธรรมชาติ


ตอบ ข้อ1. วิธีการหาอายุทางกัมมันตรังสี
การบอกอายุของซากดึกดำบรรพ์หรืออายุหิน สามารถบอกได้ 2 แบบคือ การบอกอายุเชิงเปรียบเทียบ(Relative Age)และการบอกอายุสมบูรณ์(Absolute age) 
อายุเปรียบเทียบ(Relative Age) คืออายุทางธรณีวิทยาของซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา เมื่อเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาอื่น ๆแทนที่จะบ่งบอกเป็นจำนวนปี ดังนั้นการบอกอายุของหินแบบนี้จึงบอกได้แต่เพียงว่าอายุแก่กว่าหรืออ่อนกว่าหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ อีกชุดหนึ่งเท่านั้น โดยอาศัยตำแหน่งการวางตัวของหินตะกอนเป็นตัวบ่งบอก( Index fossil) เป็นส่วนใหญ่ เพราะชั้นหินตะกอนแต่ละขั้นจะต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งที่จะเกิดการทับถม เมื่อสามารถเรียงลำดับของหินตะกอนแต่ละชุดตามลำดับก็จะสามารถหาเวลาเปรียบเทียบได้ และจะต้องใช้หลักวิชาการทางธรณีวิทยา( Stratigraphy )ประกอบด้วย 
การศึกษาเวลาเปรียบเทียบโดยอาศัยหลักความจริง มี อยู่ 3 ข้อคือ 
1. กฎการวางตัวซ้อนกันของชั้นหินตะกอน(Law of superposition) ถ้าหินตะกอนชุดหนึ่งไม่ถูกพลิกกลับโดยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้ว ส่วนบนสุดของหินชุดนี้จะอายุอ่อนหรือน้อยที่สุด และส่วนล่างสุดจะมีอายุแก่หรือมากกว่าเสมอ 
2. กฎของความสัมพันธ์ในการตัดผ่านชั้นหิน(Law of cross-cutting relationship ) หินที่ตัดผ่านเข้ามาในหินข้างเคียงจะมีอายุน้อยกว่าหินที่ถูกตัดเข้ามา 
3. การเปรียบเทียบของหินตะกอน(correlation of sedimentary rock) ศึกษาเปรียบเทียบหินตะกอนในบริเวณที่ต่างกันโดยอาศัย 
    ก. ใช้ลักษณะทางกายภาพโดยอาศัยคีย์เบด(key bed) ซึ่งเป็นชั้นหินที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวของมันเอง และถ้าพบที่ไหนจะต้องสามารถบ่งบอกจดจำได้อย่างถูกต้องถึงว่าชั้นหินที่วางตัวอยู่ข้างบนและข้างล่างของคีย์เบดจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริเวณด้วย     ข. เปรียบเทียบโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์(correlation by fossil) มีหลักเกณฑ์คือ ในชั้นหินใด ๆถ้ามีซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันเกิดอยู่ในตัวของมันแล้ว ชั้นหินนั้น ๆย่อมมีอายุหรือช่วงระยะเวลาที่เกิดใกล้เคียงกับซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถใช้เปรียบเทียบได้ดี เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่เกิดอยู่กระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างขวางมากที่สุด ฟอสซิลเหล่านี้เรียกว่า ไกด์ฟอสซิลหรือ อินเด็กฟอสซิล(guide or index fossil) 
อายุสัมบูรณ์( Absolute age ) หมายถึง อายุซากดึกดำบรรพ์ของหิน ลักษณะหรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา(โดยมากวัดเป็นปี เช่น พันปี ล้านปี) โดยทั่วไปหมายถึงอายุที่คำนวณหาได้จากไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสี ขึ้นอยู่กับวิธีการและช่วงเวลาครึ่งชีวิต(Half life period) ของธาตุนั้น ๆ เช่น C-14 มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,730 ปี จะใช้กับหินหรือ fossil โบราณคดี ที่มีอายุไม่เกิน 50,000 ปี ส่วน U-238 หรือ K-40 จะใช้หินที่มีอายุมาก ๆ ซึ่งมีวิธีการที่สลับซับซ้อน ใช้ทุนสูง และแร่ที่มีปริมาณรังสีมีปริมาณน้อยมาก วิธีการนี้เรียกว่า การตรวจหาอายุจากสารกัมมันตภาพรังสี(radiometric age dating) 
การใช้ธาตุกัมมันตรังสีเพื่อหาอายุหิน หรือ ฟอสซิล นั้น ใช้หลักการสำคัญคือการเปรียบเทียบอัตราส่วนของธาตุกัมมันตรังสีที่เหลืออยู่( End product) ที่เกิดขึ้นกับไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีตั้งต้น(Parent isotope)แล้วคำนวณโดยใช้เวลาครึ่งชีวิตมาช่วยด้วยก็จะได้อายุของชั้นหิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ นั้น ๆ เช่น 
วิธีการ Uranium 238 - Lead 206 วิธีการ Uranium 235 - Lead 207 
วิธีการ Potassium 40 - Argon 206 วิธีการ Rubidium 87- Strontium 87 
วิธีการ Carbon 14 - Nitrogen 14 
การหาอายุโดยใช้ธาตุกัมมันตรังสีมีประโยชน์ 2 ประการคือ 
1. ช่วยในการกำหนดอายุที่แน่นอนหลังจากการใช้ fossil และ Stratigrapy แล้ว 
2. ช่วยบอกอายุหรือเรื่องราวของยุคสมัย พรีแคมเบียน(Precambrian) นี้ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไปอย่างมาก ร่องรอยต่าง ๆจึงสลายไปหมด


ตอบ ข้อ3. หินปูน
เราแบ่งประเภทของหินออกเป็น 3 ประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร โดยพิจารณาลักษณะการเกิดตามวัฏจักรหิน อย่างไรก็ตามหินแต่ละประเภท ยังถูกแบ่งย่อยเป็นชนิด โดยพิจารณาจาก ขนาดผลึก องค์ประกอบของตะกอน หรือ ลักษณะการแปรสภาพ ขึ้นอยู่กับว่าหินชนิดนั้นเป็นหินประเภทใด นอกจากนั้นหินบางชนิดยังมีความสัมพันธ์กับหินอีกชนิดหนึ่ง เช่น หินไนซ์ คือ หินที่แปรสภาพมาจากหินสภาพมาจากหินแกรนิต ซึ่งเป็นหินอัคนี กิจกรรมการศึกษาลักษณะของหิน จะช่วยให้นักเรียนเห็นถึงความแตกต่างของหินแต่ละชนิด และเข้าใจถึงคอนเซปต์ของวัฏจักรหิน
หินตะกอน
          5. หินกรวดมน (Conglomerate)
หินตะกอนเนื้อหยาบ ประกอบด้วยเศษหิน กรวดขนาดตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร ขึ้นไป ฝังอยู่ในเนื้อพื้นละเอียดขนาดทรายหรือทรายแป้ง และมักมีวัตถุประสานจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนต เหล็กออกไซต์ ซิลิกา หรือดิน กรวดเหล่านี้มีลักษณะมน หรือกลม เพราะน้ำพัดพามาไกลจากแหล่งกำเนิดเดิม ใช้ทำหินประดับ หินก่อสร้าง
          6. หินทราย (Sandstone)
หินตะกอนเนื้อหยาบ จับดูระคายมือ ประกอบด้วยเศษหินที่มีลักษณะกลม หรือเหลี่ยมขนาดเม็ดทราย ประสมอยู่ในเนื้อพื้น (matrix) เนื้อละเอียด อาจมีวัตถุประสาน เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซต์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนต ประสานเม็ดเศษหินต่างๆ ให้เกาะกันแน่นแข็ง เม็ดทรายที่ประกอบเป็นหินทรายส่วนใหญ่ จะเป็นเม็ดควอรตซ์ประมาณร้อยละ 85-90
หินทรายมีสีต่างๆ กัน เช่น แดง เหลือง น้ำตาล เทา ขาว อาจเกิดจากการตกตะกอนเนื่องจากน้ำ หรือลม การแบ่งชนิดของหินทรายขึ้นอยู่กับขนาดเม็ดตะกอน แร่ที่ประกอบอยู่ในหิน โครงสร้างภายใน และชนิดของวัตถุประสาน ประโยชน์ ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก หินลับมีด
          7. หินดินดาน (Shale)
หินตะกอนเนื้อละเอียด ประกอบด้วยแร่ดิน (clay minerals) เป็นส่วนใหญ่ แร่ดินนี้เป็นสารผสมของอะลูมิเนียมซิลิเกตกับแมกนีเซียมซิลิเกตในส่วนต่างๆ กัน และมีคุณสมบัติคือ ละเอียดมาก บี้กับน้ำแล้วเหนียวติดมือ ประโยชน์ ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ให้เป็นส่วนประกอบในการทำปูนซิเมนต์
          8. หินปูน (Limestone)
หินตะกอนเนื้อแน่น ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตมากกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก ได้แก่ แคลไซต์ หรือ อาจจะมีโดโลไมต์ด้วย ซึ่งทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ หินปูนเกิดจากการทับถมของซากเปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในทะเล หรือการตะกอนทางเคมี การตกผลึก การเกิดผลึกใหม่ หินปูนที่พบส่วนมากจะมีซากฟอสซิล เช่น ซากหอย ปะการัง ประโยชน์ ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก หินลับมีด
ที่มา


ตอบ ข้อ1. หินทราย
 ในประเทศไทย ไม้กลายเป็นหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด พบอยู่ในยุคเพอร์เมียน
(280 - 245 ล้านปีก่อน) เป็นไม้สกุลปาล์ม พบในเขตอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (นเรศ สัตยารักษ์, 2538 ปรึกษาส่วนตัว) อย่างไรก็ตาม ไม้กลายเป็นหินอายุมากส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มหินโคราช เช่น ในหมวดหินภูกระดึง (170 ล้านปีก่อน) ของอำเภอวังน้ำเขียวและอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หมวดหินพระวิหาร (140 ล้านปีก่อน) บริเวณเขายายเที่ยง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และบริเวณอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ไม้กลายเป็นหินส่วนใหญ่และที่มีขนาดใหญ่ในประเทศไทย จะมีอายุอยู่ในมหายุค
ใหม่ทางธรณีวิทยาหรือมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era, 65 ล้านปีก่อน – ปัจจุบัน) โดยอายุสมัยทางธรณีวิทยาที่แท้จริงยังไม่มีการพิสูจน์กัน แต่จากการพบไม้กลายเป็นหินในชั้นกรวดทรายของบ่อทรายตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีลักษณะกรวดทรายคล้ายกับกรวดทรายตามตะพักกรวด (Gravelly Terrace) ที่พบไม้กลายเป็นหินทั่วไปของจังหวัดนครราชสีมาโดยพบร่วมกับซากช้างดึกดำบรรพ์ พวกช้างงาจอบสกุลโปรไดโนธีเรียม (Prodeinotherium) และช้าง 4 งา พวกกอมโฟธีเรียม (Gomphotherium) ในบ่อทรายดังกล่าวด้วย เซกุซา และคณะ (Saegusa etal., 2002. ปรึกษาส่วนตัว) ได้ให้อายุซากช้างดึกดำบรรพ์ดังกล่าวอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนกลาง (16 – 11 ล้านปีก่อน) นอกจากนี้ ในชั้นกรวดตอนบนของหน้าตัดดินที่พบไม้กลายเป็นหินหลายแห่งของจังหวัดนครราชสีมา มักพบหินเทคไทต์ (Tektite) ที่มีอายุประมาณ 7 แสนปีเศษ (Bunopass et al., 1999) ดังนั้น ไม้กลายเป็นหินที่พบตามตะพักกรวดหรือชั้นกรวดใต้ชั้นตะกอนแม่น้ำปัจจุบันซึ่งในอดีต คือ ตะกอนท้องแม่น้ำโบราณขนาดใหญ่ น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง 16 – 0.7 ล้านปีก่อนด้วย 

ตอบ ข้อ2. การขยายตัวของเอกภพ
บิกแบง (อังกฤษBig Bang หรือ the Big Bang หมายถึง การระเบิดครั้งใหญ่) คือแบบจำลองของการกำเนิดและการวิวัฒนาการของเอกภพในวิชาจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้สำหรับกล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน
จอร์จ เลอแมตร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1929 เอ็ดวิน ฮับเบิลค้นพบว่า ระยะห่างของดาราจักรมีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการเคลื่อนไปทางแดง การสังเกตการณ์นี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรและกระจุกดาวอันห่างไกลกำลังเคลื่อนที่ออกจากจุดสังเกต ซึ่งหมายความว่าเอกภพกำลังขยายตัว ยิ่งตำแหน่งดาราจักรไกลยิ่งขึ้น ความเร็วปรากฏก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น[1] หากเอกภพในปัจจุบันกำลังขยายตัว แสดงว่าก่อนหน้านี้ เอกภพย่อมมีขนาดเล็กกว่า หนาแน่นกว่า และร้อนกว่าที่เป็นอยู่ แนวคิดนี้มีการพิจารณาอย่างละเอียดย้อนไปจนถึงระดับความหนาแน่นและอุณหภูมิที่จุดสูงสุด และผลสรุปที่ได้ก็สอดคล้องอย่างยิ่งกับผลจากการสังเกตการณ์ ทว่าการเพิ่มของอัตราเร่งมีข้อจำกัดในการตรวจสอบสภาวะพลังงานที่สูงขนาดนั้น หากไม่มีข้อมูลอื่นที่ช่วยยืนยันสภาวะเริ่มต้นชั่วขณะก่อนการระเบิด ลำพังทฤษฎีบิกแบงก็ยังไม่สามารถใช้อธิบายสภาวะเริ่มต้นได้ มันเพียงอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเอกภพที่เกิดขึ้นหลังจากสภาวะเริ่มต้นเท่านั้น

ตอบ ข้อ2. อนุภาคมีปริมาณมากกว่า
ทฤษฎี “บิ๊กแบง” (Big Bang Theory) เป็นทฤษฎีทางดาราศาสตร์ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจักรวาล ปัจจุบันเป็นทฤษฎีที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีบิ๊กแบงเกิดขึ้นจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์ที่ว่า ขณะนี้จักรวาลกำลังขยายตัว ดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้ากำลังวิ่งห่างออกจากกันทุกที เมื่อย้อนกลับไปสู่อดีต ดวงดาวต่างๆ จะอยู่ใกล้กันมากกว่านี้ และเมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณอัตราความเร็วของการขยายตัวทำให้ทราบถึงอายุของจักรวาลและการคลี่คลายตัวของจักรวาล รวมทั้งสร้างทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลขึ้นอีกด้วย

ตามทฤษฎีนี้ จักรวาลกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านปีที่แล้ว ก่อนการเกิดของจักรวาล ไม่มีมวลสาร ช่องว่าง หรือกาลเวลา จักรวาลเป็นเพียงจุดที่เล็กยิ่งกว่าอะตอมเท่านั้น และด้วยเหตุใดยังไม่ปรากฏแน่ชัด จักรวาลที่เล็กที่สุดนี้ได้ระเบิดออกอย่างรุนแรงและรวดเร็วในเวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที (Inflationary period) แรงระเบิดก่อให้เกิดหมอกธาตุซึ่งแสงไม่สามารถทะลุผ่านได้ (Plasma period)

ต่อมาจักรวาลที่กำลังขยายตัวเริ่มเย็นลง หมอกธาตุเริ่มรวมตัวกันเป็นอะตอม จักรวาลเริ่มโปร่งแสง ในทางทฤษฎีแล้วพื้นที่บางแห่งจะมีมวลหนาแน่นกว่า ร้อนกว่า และเปล่งแสงออกมามากกว่า ซึ่งต่อมาพื้นที่เหล่านี้ได้ก่อตัวเป็นกลุ่มหมอกควันอันใหญ่โตมโหฬาร และภายใต้กฎของแรงโน้มถ่วง กลุ่มหมอกควันอันมหึมานี้ได้ค่อยๆ แตกออก จนเป็นโครงสร้างของ “กาแลกซี” (Galaxy) ดวงดาวต่าง ๆ ได้ก่อตัวขึ้นในกาแลกซี และจักรวาลขยายตัวออกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ที่มา
http://doxfan.tripod.com/bigbangpage.htm



 ตอบ ข้อ1. ดาวยักษ์แดง
ดาวยักษ์แดง (อังกฤษRed Giant) เป็นดาวฤกษ์มวลน้อยหรือมวลปานกลางขนาดยักษ์ที่ส่องสว่างมาก (มวลโดยประมาณ 0.5-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาท้ายๆ ของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ บรรยากาศรอบนอกของดาวจะลอยตัวและบางมาก ทำให้รัศมีของดาวขยายใหญ่ขึ้นมาก และอุณหภูมิพื้นผิวก็ต่ำ อาจอยู่ที่ประมาณ 5000 เคลวินหรือน้อยกว่านั้น ภาพปรากฏของดาวยักษ์แดงจะมีสีตั้งแต่เหลืองส้มออกไปจนถึงแดง ครอบคลุมระดับสเปกตรัมในชั้น K และ M อาจบางทีรวมถึงชั้น S และดาวคาร์บอนจำนวนมากด้วย


ตอบ ข้อ1. ฟิวชัน
เกิดจากปฏกิริยาแบบฟิวชัน ซึงเกิดขึ้นเมื่ออะตอมของธาตุที่เบาเช่นไฮโดเจนหลอมรวมกัน เป็นธาตุที่หนักกว่าคือฮีเลี่ยม แล้วมีมวลหนึ่งหายไป เปลี่ยนเป็นพลัง ตัวอย่างของพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน เช่น ดวงอาทิตย์ที่เป็นเตาปฏิกรณ์นิวเครียร์ฟิวชันขนาดยักษ์ในธรรมชาติ ระเบิดไฮโดเจน ฯลฯ



ตอบ ข้อ3. ดาวที่มีสีน้ำเงิน

ถ้าเราดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าดาวฤกษ์แต่ละดวงนั้นมีสีไม่เหมือนกันแต่เดิมนั้นมีการจำแนกสีดาวฤกษ์ออกเป็น 4 ประเภท คือ แดง ส้ม เหลือง และขาว แต่ละสีแทน อุณหภูมิของดาวฤกษ์ สีขาวแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนจัดที่สุด ส่วนสีแดงแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนน้อยที่สุด

ตอบ ข้อ1. อยู่ระหว่างแถบดาวเคราะห์ชั้นในกับดาวเคราะห์ชั้นนอก
ดาวเคราะห์น้อย (อังกฤษAsteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) [1] และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδήςหรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบ

ตอบ ข้อ3. การเกิดฝนดาวตก
ตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์รู้ว่า ดวงอาทิตย์มีความสำคัญต่อชีวิต เพราะดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างและความร้อนแก่โลก และสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการดำรงชีพ คนโบราณจึงนับถือดวงอาทิตย์เสมือนเป็นเทพเจ้าผู้ทรงอำนาจลึกลับ และถึงแม้ว่า วันเวลาจะผ่านไปนานร่วมพันปีแล้วก็ตาม มนุษย์ก็ยังไม่เข้าใจธรรมชาติของดวงอาทิตย์
ที่มา
http://www.ipst.ac.th/thaiversion/publications/in_sci/solarwind.html

ตอบ ข้อ4.อากาศห่อหุ้มโลกไม่รบกวน
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (อังกฤษHubble Space Telescope) คือกล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เอ็ดวิน ฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลไม่ได้เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวแรกของโลก แต่มันเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การศึกษาดาราศาสตร์ที่ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์สำคัญต่าง ๆ อย่างมากมาย กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาและองค์การอวกาศยุโรป โดยเป็นหนึ่งในโครงการหอดูดาวเอกขององค์การนาซาที่ประกอบด้วย กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกล้องรังสีแกมมาคอมป์ตัน กล้องรังสีเอกซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[3]


ตอบ ข้อ4.ไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว
 อวกาศอยู่สูงเหนือศีรษะขึ้นไปเพียงหนึ่งร้อยกิโลเมตร แต่การที่จะขึ้นไปถึงมิใช่เรื่องง่าย เซอร์ไอแซค นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและการเดินทางสู่อวกาศเมื่อสามร้อยปีมาแล้ว ได้อธิบายไว้ว่า หากเราขึ้นไปอยู่บนที่สูง และปล่อยก้อนหินให้หล่นจากมือ ก้อนหินก็จะตกลงสู่พื้นในแนวดิ่ง เมื่อออกแรงขว้างก้อนหินออกไปให้ขนานกับพื้น (ภาพที่ 3) ก้อนหินจะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง (A) เนื่องจากแรงลัพธ์ซึ่งเกิดจากแรงที่เราขว้างและแรงโน้มถ่วงของโลกรวมกัน หากเราออกแรงมากขึ้น วิถีการเคลื่อนที่ของวัตถุจะโค้งมากขึ้น และก้อนหินจะยิ่งตกไกลขึ้น (B)และหากเราออกแรงมากจนวิถีของวัตถุขนานกับความโค้งของโลก ก้อนหินก็จะไม่ตกสู่พื้นโลกอีก แต่จะโคจรรอบโลกเป็นวงกลม (C) เราเรียกการตกในลักษณะนี้ว่า “การตกอย่างอิสระ” (free fall) และนี่เองคือหลักการส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99 

กิจกรรม วันที่ 24-28 ม.ค. 2554

 ตอบ 1
กรณีที่วัตถุเคลื่อนที่อัตราเร็วที่ไม่สม่ำเสมอ หรือความเร็วไม่สม่ำเสมอ วัตถุมีค่าความเร่ง
ความหมายของอัตราเร่งหรือความเร่ง คือ อัตราเร็วหรือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลาที่วัตถุมีการเคลื่อนที่
การคำนวณหาค่าอัตราเร่ง ทำได้โดยหาอัตราเร็วที่เปลี่ยนไป โดยใช้อัตราเร็วสุดท้ายของการเคลื่อนที่ลบ ด้วยอัตราเร็วเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ หารด้วยเวลาที่ใช้เปลี่ยนค่าอัตราเร็วนั้น เช่น
กำหนดให้ เป็นอัตราเร็วเริ่มต้นของการเคลื่อนที่
เป็นอัตราเร็วสุดท้ายของการเคลื่อนที่
เป็นเวลาขณะที่เริ่มต้นการเคลื่อนที่
เป็นเวลาในช่วงสุดท้ายของการเคลื่อนที
เป็นค่าอัตราเร่งของการเคลื่อนที่
สมการแสดงความสัมพันธ์ คือ
หรือ ถ้า คือ ช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนค่าอัตราเร็ว (สมการที่ 2)
สำหรับสูตรในการคำนวณหาค่าความเร่ง ใช้สูตรเดียวกัน เพียงแต่ค่าความเร็วที่เปลี่ยนไปเป็นปริมาณสเกลลาร์
ที่มา http://www.snr.ac.th/elearning/kosit/sec02p02.html

 ตอบ 3

อัตราเร็ว ความเร็ว และความเร่ง
อัตราเร็ว
เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยทั่วไป อัตราเร็วของวัตถุจะไม่เท่ากันตลอดระยะทางที่เคลื่อนที่ จึงบอกเป็นอัตราเร็วเฉลี่ย ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่เคลื่อนที่ได้กับช่วงเวลาที่ใช้ในการ เคลื่อนที่
อัตราเร็วเฉลี่ย = ระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ / ช่วงเวลาที่ใช้
โดยมีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที หรือ m/s
อัตราเร็วเฉลี่ยที่หาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ จะเป็นอัตราเร็วขณะหนึ่ง (Instantaneous Speed) ซึ่งหมายถึงอัตราเร็ว ณ เวลานั้นหรือตำแหน่งนั้น โดยอัตราเร็วที่ใช้กันทั่วไปในชีวิตประจำวันก็เป็นอัตราเร็วขณะหนึ่ง เช่น อัตราเร็วที่อ่านได้จากมาตรวัดในรถยนต์ เป็นต้น
ความเร็ว
ความเร็วคือการกระจัดในหนึ่งหน่วยเวลา เนื่องจากการกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ความเร็วจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ และมีทิศไปทางเดียวกับทิศของการกระจัด ความเร็วมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที หรือ m/s เช่นเดียวกับหน่วยของอัตราเร็ว
ในบางกรณี การบอกความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่จะบอกเป็นความเร็วเฉลี่ย ซึ่งหาได้จาก
ความเร็วเฉลี่ย = การกระจัด / ช่วงเวลาที่ใช้
จะเห็นว่าความเร็วเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง ความเร็วจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์
ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่ในแนวตรง ระยะทางและขนาดของการกระจัดจะมีค่าเท่ากัน อัตราเร็วและขนาดของความเร็วก็จะมีค่าเท่ากันด้วย สำหรับความเร็วเฉลี่ยในช่วงเวลาสั้นมาก ๆ จะเรียกว่า ความเร็วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นปริมาณที่จะนำมาใช้ศึกษาในเรื่องของการเคลื่อนที่เช่นกัน
ความเร่ง
ในการเคลื่อนที่ของวัตถุ บางช่วงเวลาวัตถุจะมีความเร็วคงตัว ซึ่งหมายถึงขนาดของความเร็วและทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลง ความเร็วของวัตถุจะเปลี่ยนเมื่อมีการเปลี่ยนขนาดของความเร็ว หรือมีการเปลี่ยนทิศ หรือมีการเปลี่ยนทั้งขนาดและทิศของความเร็ว โดยจะเรียกว่าวัตถุมีความเร่ง
ความเร่ง หมายถึง ความเร็วที่เปลี่ยนไปในเวลา 1 วินาที ความเร่งของวัตถุอาจมีค่าเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ขณะเคลื่อนที่ ความเร่งที่หาได้จึงเป็นความเร่งเฉลี่ยและหาได้จาก
ความเร่งเฉลี่ย = ความเร็วที่เปลี่ยนไป / ช่วงเวลาที่ใช้
โดยมีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที2 หรือ m/s2
เนื่องจากความเร็วที่เปลี่ยนไปเป็นปริมาณเวกเตอร์ ดังนั้นความเร่งจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ โดยมีทิศเดียวกับทิศของความเร็วที่เปลี่ยนไป
ความเร่งเฉลี่ยในช่วงเวลาสั้น ๆ จะเป็นความเร่งขณะหนึ่ง ซึ่งถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งขณะหนึ่งเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ ก็จะถือได้ว่าวัตถุนั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัว
ที่มา http://www.assumpboard.com/acboard/index.php?topic=6452.0

 ตอบ 4

การเคลื่อนที่วิถีโค้ง
โพรเจกไทล์ คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศที่ถูกแรงดึงดูดของโลกกระทำเป็นการเคลื่อนที่ 2 แนว คือแนวดิ่งและแนวราบ โดยในแนวราบนั้นความเร็วจะคงที่ตลอด ส่วนความเร็วในแนวดิ่งนั้น จะมีความเร่งเนื่องจากถูกแรงดึงดูดโลกกระทำต่อวัตถุในขณะที่วัตถุอยู่สูงสุดนั้น ความเร็วในแนวแกนดิ่ง ณ ขณะนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์มุมที่จะทำให้วัตถุไปได้ไกลที่สุดคือ มุม 45 องศาจากแนวระดับ โดยสิ่งที่มีผลต่อระยะทางของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์คือ แรง
ที่มา http://www..kmuttlibrary.com/

 ตอบ 2
การเคลื่อนที่แบบวงกลม
เป็นการเคลื่อนที่ซึ่งมีแรงกระทำในทิศเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลม จึงเกิดความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลาง(ตามทิศของแรง)
ถ้าเป็นการเคลื่อนที่แบบวงกลมแนวราบ อาจมีขนาดความคงที่แต่ทิศทางเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยความเร็ว ณ ตำแหน่งใดๆจะมีทิศตามเส้นสัมผัสกับเส้นรอบวงของกลม ณ ตำแหน่งนั้น
สูตรการเคลื่อนที่เป็นวงกลม
1. ความเร็วเชิงเส้น (v) และความเร็วเชิงมุม  v = ความเร็วเชิงเส้น หน่วยเป็น เมตร/วินาที
ความเร็วเชิงมุม หน่วยเป็น เรเดียน/วินาที T = คาบการเคลื่อนที่ หน่วยเป็น วินาที
f = จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ใน 1 วินาที หน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)
2. ความเร่งสู่ศูนย์กลาง
3. แรงสู่ศูนย์กลาง
ที่มา http://talung.pt.ac.th/ptweb/pranee_r/pg_9_t.html

 ตอบ 2
ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่
1.คาบ (Period) "T" คือ เวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยเป็นวินาที่/รอบ หรือวินาที
2.ความถี่ (Frequency) "f" คือ จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ภายในเวลา 1 วินาที หน่วยเป็นรอบ/วินาที หรือ เฮิรตซ์ (Hz)
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่ คาบ และความถี่จะมีค่าคงที่ โดยคาบและความถี่สัมพันธ์กันโดย

 ตอบ 4
แต่ถ้าเป็นระยะทางทั้งหมดใน 1 หน่วยเวลา เรียกว่าอัตราเร็วเฉลี่ย
อัตราเร็วขณะหนึ่ง คือ อัตราเร็วในช่วยเวลาสั้น ๆ หรือ อัตราเร็วที่ปรากฏขณะนั้น
อัตราเร็วคงที่ หมายถึง วัตถุที่เคลื่อน ที่มีอัตราเร็วสม่ำเสมอตลอดการเคลื่อนที่ไม่ว่าจะวัดอัตราเร็ว
ณ ตำแหน่งใดจะมีค่าเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ หรือบอกได้ว่า
อัตราเร็ว ขณะใด ๆ มีค่าเท่ากับ อัตราเร็วเฉลี่ย

การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับอัตราเร็ว
1. การหาอัตราเร็ว
1.1. เมื่อกำหนดระยะทางและเวลาในการเคลื่อนที่
คำนวณหาอัตราเร็วโดยการใช้สูตร
1.2. เมื่อกำหนดข้อมูลเป็นกราฟ ระหว่าง การกระจัดกับเวลา ( s - t )คำนวณหาอัตราเร็วได้จากความชันของกราฟ
โดย อัตราเร็ว = ความชัน (slope)

ที่มา http://khankhammuen.files.wordpress.com/2010/06/e0b881e0b8a3e0b8b2e0b89fe0b881e0b8b2e0b8a3e0b980e0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b897e0b8b5e0b988.pdf
 ตอบ 3
สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึง
เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรง ที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มี
ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบ
วัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและ
สนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)
หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ที่มา http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/56/magnetic%20field.htm
ตอบ 4
แรงแม่เหล็ก
16.9 แม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก
แม่เหล็ก (magnet) คือสารที่สามารถดูดหรือผลักกันเองได้และสามารถดูดสารแม่เหล็กได้ แบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ชนิดคือ
1. แม่เหล็กธรรมชาติ (natural magnet) พบตามธรรมชาติเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ โดยชาวกรีก ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า magnetite หรือ lodestone (leadingstone) แปลว่า หินนำทาง เพราะชาวจีนนำมาใช้สำหรับชี้หาทิศเหนือและทิศใต้ในการเดินเรือ สินแร่ธรรมชาตินี้มีสมบัติดูดเหล็กและเป็นสารประกอบออกไซด์ของเหล็ก (Fe3O4)
2. แม่เหล็กประดิษฐ์ (artificial magnet) แบ่งเป็น
1) แม่เหล็กถาวร (permanet magnet) คือแม่เหล็กที่รักษาอำนาจแม่เหล็กไว้ได้นาน ปกติจะทำด้วยเหล็กกล้า แต่ที่มีความแรงมากนิยมทำด้วยโลหะผสม เช่น เหล็กกล้า alnico (Fe = 51 เปอร์เซ็นต์
Co = 24 เปอร์เซ็นต์ Ni = 14 เปอร์เซ็นต์ Al = 8 เปอร์เซ็นต์ Cu = 3 เปอร์เซ็นต์) เป็นโลหะผสมที่นำมาทำเป็นแม่เหล็กถาวรที่ดีที่สุด
2) แม่เหล็กชั่วคราว (temporary magnet) หรือแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแม่เหล็กชั่วขณะที่มี กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดที่พันรอบแท่งเหล็กอ่อน เท่านั้น เช่น mumetal (Ni = 73 เปอร์เซ็นต์, Fe = 22 เปอร์เซ็นต์ Cu = 5 เปอร์เซ็นต์) เป็นต้น

สารแม่เหล็ก (magnetic substance) คือสารที่เกิดแรงดูดหรือแรงผลักกับแท่งแม่เหล็กได้ มี 3 ชนิดคือ
1. สารที่เกิดแรงดูดอย่างแรงกับขั้วแม่เหล็ก เช่น เหล็ก นิกเกิล เรียกว่า ferromagnetic substance
2. สารที่เกิดแรงดูดอ่อนๆ กับขั้วแม่เหล็ก เช่น อะลูมิเนียม เรียกว่า paramagnetic substance
3. สารที่เกิดแรงผลักอ่อนๆ กับขั้วแม่เหล็ก เช่น ฟอสฟอรัส เรียกว่า diamagnetic substance
ขั้วแม่เหล็ก (magnetic pole) คือบริเวณปลายของแท่งแม่เหล็ก บริเวณดังกล่าวจะมีอำนาจการดูดหรือผลักกันแรงที่สุด มีสมบัติดังนี้
1. จะเกิดแรงดูดหรือแรงผลักกับสารแม่เหล็ก โดยจะมีความแรงมากที่สุดบริเวณขั้วแม่เหล็ก
2. ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะเกิดแรงผลักกัน ขั้วแม่เหล็กต่างชนิดกันจะเกิดแรงดูดกัน
3. ถ้าแขวนแท่งแม่เหล็กให้หมุนได้อิสระ แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยปลายที่ชี้ทิศเหนือภูมิศาสตร์ คือขั้วแม่เหล็กเหนือ (N) และปลายที่ชี้ทิศใต้ภูมิศาสตร์ คือขั้วแม่เหล็กใต้ (S)
ที่มา http://www.walter-fendt.de/ph14th/mfbar_th.htm


ตอบ 4
แรงแม่เหล็ก
16.9 แม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก
แม่เหล็ก (magnet) คือสารที่สามารถดูดหรือผลักกันเองได้และสามารถดูดสารแม่เหล็กได้ แบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ชนิดคือ
1. แม่เหล็กธรรมชาติ (natural magnet) พบตามธรรมชาติเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ โดยชาวกรีก ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า magnetite หรือ lodestone (leadingstone) แปลว่า หินนำทาง เพราะชาวจีนนำมาใช้สำหรับชี้หาทิศเหนือและทิศใต้ในการเดินเรือ สินแร่ธรรมชาตินี้มีสมบัติดูดเหล็กและเป็นสารประกอบออกไซด์ของเหล็ก (Fe3O4)
2. แม่เหล็กประดิษฐ์ (artificial magnet) แบ่งเป็น
1) แม่เหล็กถาวร (permanet magnet) คือแม่เหล็กที่รักษาอำนาจแม่เหล็กไว้ได้นาน ปกติจะทำด้วยเหล็กกล้า แต่ที่มีความแรงมากนิยมทำด้วยโลหะผสม เช่น เหล็กกล้า alnico (Fe = 51 เปอร์เซ็นต์
Co = 24 เปอร์เซ็นต์ Ni = 14 เปอร์เซ็นต์ Al = 8 เปอร์เซ็นต์ Cu = 3 เปอร์เซ็นต์) เป็นโลหะผสมที่นำมาทำเป็นแม่เหล็กถาวรที่ดีที่สุด
2) แม่เหล็กชั่วคราว (temporary magnet) หรือแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแม่เหล็กชั่วขณะที่มี กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดที่พันรอบแท่งเหล็กอ่อน เท่านั้น เช่น mumetal (Ni = 73 เปอร์เซ็นต์, Fe = 22 เปอร์เซ็นต์ Cu = 5 เปอร์เซ็นต์) เป็นต้น

สารแม่เหล็ก (magnetic substance) คือสารที่เกิดแรงดูดหรือแรงผลักกับแท่งแม่เหล็กได้ มี 3 ชนิดคือ
1. สารที่เกิดแรงดูดอย่างแรงกับขั้วแม่เหล็ก เช่น เหล็ก นิกเกิล เรียกว่า ferromagnetic substance
2. สารที่เกิดแรงดูดอ่อนๆ กับขั้วแม่เหล็ก เช่น อะลูมิเนียม เรียกว่า paramagnetic substance
3. สารที่เกิดแรงผลักอ่อนๆ กับขั้วแม่เหล็ก เช่น ฟอสฟอรัส เรียกว่า diamagnetic substance
ขั้วแม่เหล็ก (magnetic pole) คือบริเวณปลายของแท่งแม่เหล็ก บริเวณดังกล่าวจะมีอำนาจการดูดหรือผลักกันแรงที่สุด มีสมบัติดังนี้
1. จะเกิดแรงดูดหรือแรงผลักกับสารแม่เหล็ก โดยจะมีความแรงมากที่สุดบริเวณขั้วแม่เหล็ก
2. ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะเกิดแรงผลักกัน ขั้วแม่เหล็กต่างชนิดกันจะเกิดแรงดูดกัน
3. ถ้าแขวนแท่งแม่เหล็กให้หมุนได้อิสระ แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยปลายที่ชี้ทิศเหนือภูมิศาสตร์ คือขั้วแม่เหล็กเหนือ (N) และปลายที่ชี้ทิศใต้ภูมิศาสตร์ คือขั้วแม่เหล็กใต้ (S)
ที่มา http://www.walter-fendt.de/ph14th/mfbar_th.htm


 ตอบ 4
สนามไฟฟ้า (electric field) หมายถึง "บริเวณโดยรอบประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้า สามารถส่งอำนาจไปถึง" หรือ "บริเวณที่เมื่อนำประจุไฟฟ้าเข้าไปวางแล้วจะเกิดแรง กระทำบนประจุไฟฟ้านั้น" ตามจุดต่างๆ ในบริเวณสนามไฟฟ้า ย่อมมีความเข้มของ สนามไฟฟ้าต่างกัน จุดที่อยู่ใกล้ประจุไฟฟ้า จะมีความเข้มของสนามไฟฟ้าสูงกว่าจุดที่อยู่ ห่างไกลออกไป นอกจากนั้น ณ จุดต่างๆ ในบริเวณสนามไฟฟ้าย่อมจะปรากฏศักย์ไฟฟ้า มีค่าต่างๆ กันด้วย ซึ่งเป็นศักย์ไฟฟ้า ชนิดเดียวกันกับศักย์ไฟฟ้าอัน เกิดจากประจุไฟฟ้า ที่เป็นเจ้าของสนามไฟฟ้า จุดที่อยู่ใกล้ประจุไฟฟ้าจะมีศักย์สูงกว่าจุดที่อยู่ไกลออกไป
ที่มา http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/56/magnetic%20field.htm

 ตอบ 3

รังสีแกมมา(Gamma Ray) ใช้สัญลักษณ์ เกิดจากการที่นิวเคลียสที่อยู่ในสถานะกระตุ้นกลับสู่ สถานะพื้นฐานโดยการปลด ปล่อยรังสีแกมมาออกมา รังสีแกมมา ก็คือโฟตอนของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีเอ็กซ์ แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า และมีอำนาจในการทะลุทะลวงสูงมากกว่ารังสีเอ็กซ์ ไม่มีประจุไฟฟ้าและมวล ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่ เหล็กและ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าแสง
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%95